จากวันวิสาขบูชา สู่การค้นหาดวงชะตาของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 2 | โพสต์ 24 ต.ค.56 13:20 น. : อ่าน 5355 |
เรื่องของปฏิทินนี่เป็นเรื่องน่าปวดหัว เนื่องจากมีหลายระบบ หากเราจะค้นคว้าในเชิงประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปไกลๆ เมื่อเห็นหลักฐานวันเดือนปี พึงต้องคำนึงถึงว่า เขาหมายถึงปฏิทินอะไรด้วย (Daylight Saving Time เป็นอีกอย่างที่โหรบ้านเราใช้กันผิดๆถูกๆ อย่างดวงโอบามาร์ค เป็นต้น)
ในแง่ของการคำนวณทางโหราศาสตร์ซึ่งอ้างอิงจากดาราศาสตร์นั่น ส่วนใหญ่เราคำนวณจากสูตรคำนวณของฝรั่ง หรือไม่ก็ใช้ Module ของ Swiss Ephemeris ดังนั้นปฏิทินที่ใช้ก็จะเป็นของฝรั่ง
ปฏิทินของฝรั่งที่ใช้อ้างอิงกันคือ จูเลียน กับ เกรกอเรี่ยน มีจุดที่ต้องเข้าใจคือ เมื่อสันตปาปา เกรกอรี่ จะปรับปรุงปฏิทิน สิ่งที่ต้องทำคือท่านต้องทดเวลาให้ถูกต้องคือ ท่านตัดวันออกไป 10 วัน เมื่อปี 1582 ผลคือในปฏิทินที่ใช้กันจะไม่มี วันที่ 5 14 ตุลาคม ค.ศ.1582 วันที่จะกระโดดข้ามไปเลย มีผลทำให้การคำนวณวันในสัปดาห์ ต้องกระโดดตามไปด้วย อาจทำให้สับสนกับผู้บันทึกประวัติศาสตร์ได้ ผลก็คือเวลานักโหราศาสตร์เอามาใช้แบบไม่เข้่าใจก็อาจจะอ่านดวงผิดวันก็ได้
ดังนั้นในการพิจารณากรณีนี้ เราควรจะคำนึงถึงตำแหน่งของอาทิตย์ และจันทร์ ว่าอยู่ในขอบเขตของฤกษ์วิสาขะเป็นหลักมากกว่าจะมาสนใจวันที่ เพื่อที่จะมองไปที่โครงสร้างดาวของท้องฟ้า ณ วันเวลา นั้นจริงๆ
สรุปถึงตอนนี้หากจะสรุปเรื่องของวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะสืบค้นได้จากการอ้างอิงประวัติศาสตร์มี 2 Patterns คือ
1. อ้างอิงได้ใกล้เคียงกับ ปฏิทินทางพุทธศักราช คือ ปีที่ปรินิพพาน เป็น พ.ศ.1
ประสูติ (15/04/623 BC JC) We 15/04/-79 11:20 Lumbini, Nepal 83E6,27N8,5.55,0
ตรัสรู้ (18/04/588 BC JC) Mo 18/04/-44 04:57 Gaya, India 85E0,24N47,5.5,0
ปรินิพพาน (01/04/543 BC JC) Fr 01/04/1 05:14 Kusinara, India 83E24,26N45,5.5,0
2. อ้างอิงจากมีผู้ค้นพบหลักฐานว่า อาจจะเหลื่อมไป 60 ปี และวันประสูติ กับตรัสรู้ ตรงกับวันในรอบสัปดาห์ ที่พูดๆกันทั่วไป
ประสูติ (12/04/563 BC) Fr 12/04/-19 11:22 Lumbini, Nepal 83E6,27N8,5.55,0
ตรัสรู้ (15/04/528 BC) We 15/04/16 05:00 Gaya, India 85E0,24N47,5.5,0
ปรินิพพาน (29/03/483 BC) Su 29/03/61 01:00 Kusinara, India 83E24,26N45,5.5,0
สำหรับตามข้อมูลที่มีการกล่าวไว้ในเวบอื่นๆ สรุปได้อยู่ 2 อันที่น่าสนใจ
3. ของฝ่ายมหายานพยายามอ้างอิงให้วันในสัปดาห์ ให้ตรงตามอรรถกถา แต่กลับเป็นว่าปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 79 พรรษา
ประสูติ (04/04/557 BC) Fr 04/04/-13 11:22 Lumbini, Nepal 83E6,27N8,5.55,0
ตรัสรู้ (08/04/522 BC) We 08/04/22 05:30 Gaya, India 85E0,24N47,5.5,0
ปรินิพพาน (01/04/478 BC) We 01/04/66 23:00 Kusinara, India 83E24,26N45,5.5,0
หมายเหตุ น่าจะเป็นอันนี้มากกว่าเพราะจะเป็น 80 พรรษาพอดี
ปรินิพพาน (19/04/477 BC) Tu 19/04/67 23:00 Kusinara, India 83E24,26N45,5.5,0
4. ของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว ก็เช่นกัน วันในสัปดาห์ตรงตามอรรถกถา และพระชนมายุ 79 พรรษาเช่นกัน
ประสูติ (07/04/587 BC) Fr 07/04/-43 11:22 Lumbini, Nepal 83E6,27N8,5.55,0
ตรัสรู้ (10/04/552 BC) We 10/04/-8 05:00 Gaya, India 85E0,24N47,5.5,0
ปรินิพพาน (03/04/508 BC) Tu 03/04/36 23:00 Kusinara, India 83E24,26N45,5.5,0
หมายเหตุ เรื่องเวลา เป็นชั่วโมง นาที ยังไม่ได้สรุปแน่นอน แต่คงไม่ยากแล้วว่าทดลองปรับเวลากันอย่างไร รวมถึงการตัดเวลาท้องถิ่นซึ่งใช้กันสมัยโบราณ
- ตำแหน่งของอาทิตย์ จันทร์ ของวันปรินิพพาน คลาดเคลื่อนไปจากวิสาขะ อยู่บ้าง
ในทางโหราศาสตร์หากไม่สนใจประวัติศาสตร์ เราคงจะพิสูจน์กันในเชิงของโครงสร้างดาว ว่าอันไหนน่าสนใจกว่ากัน ลองตรวจสอบดูแล้วกันนะครับถือว่าเป็นการบ้าน ใครจะชอบอันไหนก็ไม่ว่ากันครับ(ขออย่างเดียวอย่ามีทรรศนะแบบผู้เขียน เหตุเกิด พ.ศ.๑ แล้วกัน) แต่ละอันก็มีประเด็นที่จะเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้เกือบทั้งนั้น ตามสไตล์แบบวิเคราะห์เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว(หวยออกแล้วทาย) ส่วนข้าพเจ้าตอนนี้ชอบอันแรกครับ ถ้าปรับเวลาอีกนิดหน่อยละก็ จี๊ดเลย
ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่ผิดจากนี้คาดว่าไม่มีแล้ว ณ ความเห็นของข้าพเจ้าในช่วงนี้
|
|